Posts

ข่าวประชาสัมพันธ์

Image
ปีก่อนหน้า      ปีปัจจุบัน สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ Certified Training Partner ของ GRI ในประเทศไทย จะจัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านความยั่งยืน ในรายวิชา GRI Standards Certified Training Course (ระยะเวลา 2 วัน) ในวันพุธและพฤหัสบดีที่ 7-8 พฤษภาคม 2568 ( ข้อมูลเพิ่มเติม ) • มาตรฐาน GRI กับความเข้าใจผิดเรื่องความยั่งยืน • ไทยติดอันดับประเทศที่มีการรายงานความยั่งยืนสูงสุด   ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย หนึ่งในเครือบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของโลก เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล ในฐานะบริษัทแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ( รายละเอียด )   รายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ปี 2567 เป็นการประมวลสถานการณ์การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนที่เป็นภาพรวมในระดับสากล และในประเทศไทย ผ่านมุมมองของการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของกิจการ ซึ่งรวบรวมจากบริษัทจดทะเบียน 838 แห่ง กองทุนและองค์กรอื่นๆ อีก 92 ราย รวมทั้งสิ้น 930 ราย รวมทั้งการนำเสนอกรอบการเปิดเผยข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงตามเรื่องความยั่งยืนที่เร...

ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล

Image
มุ่งเป้าสู่ Net Zero ให้ได้เร็วกว่า 11 ปี ก่อนปี ค.ศ. 2050 ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย หนึ่งในเครือบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศเข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) ในฐานะธุรกิจแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในขอบข่ายที่ 3 ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ตาม Corporate Net-Zero Standard ที่สอดคล้องกับศาสตร์ทางภูมิอากาศ นางณัฏฐิณี เนตรอำไพ ที่ปรึกษาอาวุโสส่วนองค์กรสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย (ที่สองจากขวา) รับมอบแถบประกาศการเข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) ในฐานะธุรกิจแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศที่คำนึงถึงการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในขอบข่ายที่ 3 ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สองจากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ นางณัฏฐิณี เนตรอำไพ ที่ปรึกษาอาวุโสส่วนองค์กรสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย มีความยินดีที่ได้เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล หรือ Climate-Aligned Governance Alliance (CAG Alliance) ที่ริ...

อ่านทาง ทีมนโยบายเศรษฐกิจ 'ทรัมป์'

Image
จากสัญญาณที่ทีมเศรษฐกิจในรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งนำโดย สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ฮาวเวิร์ด ลุตนิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สื่อสารออกมาให้เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปนั้น นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ ประกอบด้วยเรื่อง พิกัดอัตราภาษี (Tariffs) การปฏิรูปภาษี (Tax Cuts) และการลดกฎเกณฑ์ (Deregulation) เพื่อจุดหมายในการลดหนี้ที่มีอยู่ราว 36 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 123% ของจีดีพี ในแผนระยะที่หนึ่งซึ่งรัฐบาลทรัมป์ ได้ดำเนินการแล้ว คือ การวางแนวทางเพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) และการทยอยลดรายจ่ายในภาครัฐด้วยการยุบหน่วยงาน ลดบุคลากร ตัดงบประมาณ ฯลฯ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อภาวะเงินเฟ้อ และไม่ไปกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการลดภาษีในแผนระยะที่สอง จะช่วยให้ประชาชนมีเงินเหลือในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการผ่อนคลายกฎระเบียบในแผนระยะที่สาม จะช่วยเร่งการเติบโตในภาคการผลิต ซึ่งไปเพิ่มโอกาสการจ้างงานของภาคเอกชน (ที่ช่วยชดเชยการเลิกจ้างในภาครัฐด้วย) แม้นโยบายการเก็บภาษีต่างตอบแทน จะถูกมองเป็นสัญญาณลบต่อเศรษฐกิจโลก และผลักให้นานาประเ...

รู้ทันนโยบายภาษีทรัมป์ ?

Image
การลงนามคำสั่งของฝ่ายบริหารโดยประธานาธิบดีทรัมป์ ต่อการใช้นโยบายภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) เพื่อหวังจะลดการขาดดุลทางการค้าของสหรัฐอเมริกาจำนวน 1.2 ล้านล้านเหรียญ (ตัวเลขปี ค.ศ. 2024) ได้สร้างความกังวลให้กับประเทศคู่ค้าที่มีตัวเลขการค้าเกินดุล รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีตัวเลขการค้าเกินดุลอยู่ในอันดับ 8 ที่จำนวน 4.56 หมื่นล้านเหรียญ (คิดเป็น 3.8% ของยอดขาดดุลรวมของสหรัฐฯ) สำหรับประเทศไทย สหรัฐฯ กำหนดอัตราภาษีนำเข้าต่างตอบแทนไว้ที่ 36% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 เป็นต้นไป ตัวเลขดังกล่าวมาจาก การนำยอดขาดดุลการค้ากับไทย (4.56 หมื่นล้านเหรียญ) หารด้วยยอดนำเข้าสินค้าจากไทยทั้งหมด (6.33 หมื่นล้านเหรียญ) ซึ่งเท่ากับ 72% และ สหรัฐฯ เรียกเก็บครึ่งเดียว จึงเท่ากับ 36% ตามข่าว มีการประเมินว่า ไทยจะมีมูลค่าความเสียหายอยู่ราว 8 แสนล้านบาท (ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขจริง) ตัวเลขนี้น่าจะมาจากการนำยอดส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ (6.33 หมื่นล้านเหรียญ) คูณกับอัตราภาษีนำเข้าต่างตอบแทนที่สหรัฐฯ จะจัดเก็บ (ในอัตรา 36%) ในความเป็นจริง อัตราภาษี 36% เป็นภาษีนำเข้า เรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากไทย (ซึ...

LHFG เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance)

Image
มุ่งเป้าลด Scope 3 Emissions ตามมาตรฐาน Corporate Net Zero ของ SBTi บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ประกาศเข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) ในฐานะบริษัทแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในขอบข่ายที่ 3 ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ตาม Corporate Net-Zero Standard ที่สอดคล้องกับศาสตร์ทางภูมิอากาศ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) โดยนายวรวุฒน์ โตเจริญธนาผล President (ที่สองจากขวา) และนายวิเชียร อมรพูนชัย (ขวาสุด) กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) ในฐานะบริษัทแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ โดยนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สองจากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ นายวรวุฒน์ โตเจริญธนาผล President บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) ได้เข้าเป็นแนวร่วมอ...